ช่างปูน Plastering |
ช่างปูน เป็นช่างประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ งานของช่างปูน เป็นงานสร้างทำอาคารสถานชนิดเครื่อง ก่อประเภท เจติยสถานและศาสนสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานชุกชี ซุ้มคูหา กับได้ทำพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียร แท่นฐาน เกยราชยาน ประตู เครื่องยอดต่างๆ ใบเสมา กำแพงและป้อมปราการ เป็นต้น และงานของช่างปูนยังเนื่องด้วยการปั้นปูนอีกด้วย งานปูน จัดเป็นงานช่างเก่าแก่ จำพวกหนึ่งที่ในสยามประเทศนี้ ทั้งนี้พึงเห็นได้จากซากโบราณสถานประเภท เจติยสถาน ชนิดเครื่องก่ออิฐถือปูนทำลวดบังประกอบส่วนต่างๆ อย่างประณีตแสดงฝีมือและความสามารถช่างปูน ชั้นสูง แต่ทว่าหลักฐานความเป็นมาของช่างปูนรุ่นเก่าๆ นั้นไม่สู้มีหลักฐานสิ่งอื่นๆ แสดงให้ทราบได้ว่าเป็นช่างพวก ใดเป็นผู้สร้างทำ นอกเสียจากรูปแบบที่แสดงฝีไม้ลายมือฝากไว้เท่านั้น งานปูน หรืองานช่างปูนแต่สมัยก่อน มีชื่อเรียกเป็นคำเก่าอีกอย่างหนึ่งว่า "สทายปูน" งานของช่างปูน อาจจำแนกลักษณะงานของช่างปูนออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ด้วยกันคือ ช่างปูนงานก่อ ช่างปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการก่อวัสดุชนิดต่างๆ เช่น อิฐ หิน ศิลาแลง เป็นต้น ขึ้นเป็นรูปทรงสิ่ง ต่างๆ ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น ก่อเขามอขึ้นอ่าง ไปจนกระทั่งก่อพระสถูปเจดีย์ ก่อพระพุทธปรางค์เจดีย์ หรือได้ทำการ ในด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ เครื่องหิน เครื่องอิฐก่อที่ชำรุดให้คืนดีขึ้นดั่งเดิม ช่างปูนงานลวดบัว ช่างปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการถือปูนทำผิวเป็นลวดบัวแบบต่างๆ เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวหลังเจียด บัวปากปลิง บัวลูกแก้ว บัวอกไก่ สำหรับประกอบทำฐานลักษณะต่างๆ เป็นต้นว่า ฐานเชิง บาตร ฐานเท้าสิงห์ ฐานปัทม์ ฐานเฉียง ฐานบัวจงกล ฯลฯ หรือทำการถือปูนจับเหลี่ยมเสาแบบต่างๆ คือ เสาแปดเหลี่ยม เสาย่อมุมไม้สิบสอง เสากลม เป็นต้น งานปูนที่เป็นงานในหน้าที่ของช่างปูนดังกล่าวมีวัตถุปัจจัยสำคัญสำหรับงาน คือ ปูน ซึ่งช่างปูนได้ใช้ในงาน ก่อ ฉาบ และถือปูนเป็นสิ่งต่างๆ มาแต่โบราณ การผสมปูนนี้ ช่างปูน บางคนได้ผสมเนื้อปูนให้มีคุณภาพเหนียวและ คงทนถาวรอยู่ได้นานปี บางคนใช้กระดาษฟางบ้าง หัวบุบุก หัวกลอยบ้าง แม้หัวต้นกระดาษก็ใช้ตำผสมเข้ากับเนื้อ ปูน เพื่อช่วยเสริมความเหนียวและยึดตัวดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อและประสบการณ์ของช่างปูนแต่ละคน งานช่างปูนนี้ เมื่อจะทำการคราวหนึ่งๆ จึงทำปูนขึ้นเฉพาะงานคราวนั้น จะทำเตรียมไว้ล่วงหน้านานเป็นแรม เดือนไม่ได้ การทำปูนเตรียมไว้สำหรับงานก่อ ฉาบ จับ ถือปูนเป็นงานค่อนข้างหนักแรง เพราะต้องใช้แรงตำปูนกับ สิ่งที่ผสมร่วมกันนานกว่าจะเข้าเป้นเนื้อเดียวและเหนียวได้ที่ ในการงานช่วงนี้ มักเป็นภาระหน้าที่ของลูกมือ ช่างปูนตำปูนให้แก่ช่างปูน แต่ในบางกรณีที่ช่างปูนได้ทำงานก่อ งานปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่เป็นงานของหลวง อุปถัมภ์การพระศาสนา มักมีชาวบ้านสมัครมาช่วยตำปูน เป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลด้วยการโขลกตำปูนถวายวัด บุญกิริยาเช่นนี้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นในสมัยก่อน เมื่อมีการสร้างหรือซ่อมปูชนียสถาน หรือศาสนสถานอย่างหนึ่ง อย่างใดที่เป็นชนิดเครื่องก่อขึ้นในวัด ชาวบ้านวัยหนุ่มวัยสาวจะสมัครมาช่วยกันตำปูนเตรียมไว้สำหรับช่างปูน จะได้ใช้งานตำปูนนี้จะทำกันในตอนหัวค่ำภายหลังเสร็จธุระประจำวันแล้ว ตั้งครกตำปูนเรียงรายกันหลายๆ ลูกครก ตำปูนนี้โดยมากใช้ครกกระเดื่องซึ่งจะช่วยผ่อนแรงตำได้มาก เมื่อตำปูนเหนียวได้ที่ครกหนึ่งๆ ก็ตักเอาไปพักไว้ใน อ่างดิน เอาผ้าหรือฟางชุบน้ำคลุมปิดไว้ให้ปูนชื้นพอแก่เวลาที่ช่างปูนจะมาเอาไปใช้ในวันรุ่งขึ้น อนึ่ง ปูนที่จัดการ โขลกตำเตรียมไว้นี้ยังไม่ต้องใส่เชื้อน้ำตาล จะใส่เชื้อน้ำตาลก็ต่อเมื่อช่างปูนจะใช้ปูน จึงใส่เชื้อดังกล่าวเอาเองตาม ส่วนหรือขนาดที่เข้าใจ ธรรมเนียมชาวบ้านช่วยตำปูนถวายวัดนี้ นอกเสียจากเป็นบุญกิริยาแล้วยังอาจกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาวได้มาสมาคมกันได้โดยผู้ใหญ่ไม่สู้เดียดฉันท์ ช่างปูนที่เป็นช่างปูนงานก่อก็ดีช่างปูนงานลวดบัวก็ดี ช่างประเภทนี้ ใช้เครื่องมือที่จำเป็นอยู่ ๒-๓ อย่าง คือ เกรียงเหล็ก ขนาดต่างๆ เกรียงไม้ ประทับหรือบรรทัด ถือลวดบัว หรือจับเหลี่ยม ครก และสากไม้ ตะแกรง สำหรับร่อนปูน และทราย อ่างดิน สำหรับพักหรือหมักปูน ช่างปูน เป็นช่างฝีมือที่ได้ใช้ความสามารถของฝีมือสร้างทำปูนให้เป็นรูปลักษณ์ที่ประกอบไปด้วยศิลป ลักษณะ มีความงามและคุณค่าเชิงประณีตศิลป์ ฉะนี้ช่างปูนจึงได้รับการยอมรับและจัดรวมเข้าในหมู่ช่างสิบหมู่ด้วย สาระสำคัญของช่างปูนตามที่ได้อธิบายมานี้ |
วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553
งานช่างปูน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น