วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ช่างไฟฟ้า

งานไฟฟ้า  หมายถึง  การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าในการสร้างหรือผลิต  การซ่อมแซม การปรับปรุง การติดตั้งอุปกรณ์หรือ   วงจรไฟฟ้าด้วยความปลอดภัย เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการดำรงชีวิตประจำวัน
   งานไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  ดังนี้
   1. งานไฟฟ้าใช้ในการสร้างเครื่องมือ  เครื่องใช้ต่าง ๆ  ที่ให้พลังงานความร้อน  พลังงานแสงสว่าง  พลังงานกล  ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง  เช่น  เครื่องทำน้ำอุ่น  เครื่องปรับอากาศ หลอดไส้  หลอดฟลูออเรสเซนต์  ลิฟต์  บันไดเลื่อน
เป็นต้น
   2. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบสื่อสาร  คมนาคม  ให้สะดวกเจริญก้าวหน้า  เช่น  วิทยุ  โทรทัศน์  โทรศัพท์
รถไฟฟ้า  เป็นต้น
   3. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม


 การใช้งานอุปกรณ์งานช่างไฟฟ้า





ปัจจุบันไฟฟ้ามีประโยชน์หลายด้าน  เช่น  งานอุตสาหกรรม  งานติดต่อสื่อสาร  และการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์  ทุกคนจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าไว้เป็นพื้นฐานสำหรับซ่อมแซมดูแลเรื่องไฟฟ้าภายในบ้านสามารถเดินสายไฟฟ้าเพื่อให้กระแสไฟฟ้าง่ายๆ ภายในบ้านได้ปลอดภัย  ไม่ต้องจ้างหรือพึ่งผู้อื่น
งานเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน
      กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ  เดินทางมาตามเส้นลวด  มีหน่วยวัดปริมาณของกระแสไฟฟ้าเรียกว่า แอมแปร์  แรงขับเคลื่อนให้กระแสไฟฟ้าไหลจะมีหน่วยเป็นโวลท์  และผลการทำงานจะมีหน่วยเป็นวัตต์สิ่งสำคัญทื่มีผลกระทบต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าเรียกว่า ความต้านทาน  ถ้ามีความต้านทานมาก  กระแสไฟฟ้าก็จะไหลน้อยลง ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงทำให้ต้องใช้เส้นลวดขนาดใหญ่  มาส่งผ่านกระแสไฟฟ้าจำนวนมาก
      สายที่เดินเข้าบ้าน  ตามมาตรฐานของสหรัฐจะมี  3  สายย่อย  โดยสองสายแรกเรียกว่า  สายฮ็อท  (Hot wires)  หรือคอนดัคเตอร์  (Conductor)   ส่วนอีกสายหนึ่งตามปกติจะไม่มีไฟฟ้าเรียกว่า สายนิวทรัล  (Neutral)  หรือสายกราวด์  (Ground)  การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านมีความสำคัญมากหากไม่รู้หลักและวิธีการที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้  เช่น  การเลือกสาย  การเดินสาย  ซึ่งมีหลักอยู่ว่า  สายไฟต้องเดินต่อเนื่องไปยังจุดที่ต้องการใช้ไฟ  นั่นหมายถึง  ต้องครบวงจรรอบการเดินของกระแสไฟฟ้า
เครื่องมืองานเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน  ที่จำเป็นต้องใช้มีดังนี้
    1. ค้อน  สำหรับใช้งานไฟฟ้ามีหลายชนิด  เช่น  ค้อนหงอน
ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบ  หงอนด้านบนใช้ถอนตะปู  ค้อนเหลียมเล็กใช้ตอกตะปูในการเดินสายไฟ
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    การใช้ค้อนมีข้อควรระวังและวิธีใช้ดังนี้
    1)  อย่าใช้ค้อนงัดจนเกินกำลังจะทำให้ด้านค้อนหัก
    2)  รักษาผิวหน้าค้อนให้ราบเรียบเสมอกัน
    3)  ห้ามใช้ค้อนที่ชำรุด
    4)  หลังใช้งานแล้ว  ควรเช็ดให้สะอาด  ทาด้วยน้ำมัน
         เก็บไว้ในที่เก็บเครื่องมือ
         
2.  คีม  คีมเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเดินสายไฟมาก  ใช้ตัด  ดัด  งอ  โค้งและปอกสายไฟ
     คีมที่มีด้ามเป็นฉนวนหุ้ม  จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงาน  คีมที่ใช้ในการเดินสายไฟ
     พอจะแยกออกได้เป็น  4  ชนิด  คือ  คีมปอกสายและตัดสาย  คีมปากจระเข้  คีมปากจิ้งจก  และคีมย้ำหัว
     ต่อสาย
                              วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    1)  ใช้คีมให้เหมาะกับงาน
    2)  ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว  เพราะจะทำให้ปากคีมเยิน
    3)  ไม่ควรใช้คีมต่างค้อน
    4)  ก่อนใช้ตรวจฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย  ถ้าชำรุดห้ามใช้
    5)  เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
 

3.  ไขควง  ไขควงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งในงานไฟฟ้าเล็กๆ น้อยๆ ในบ้าน  เช่น  ต่อฟิวส์      ใส่สวิตซ์ใส่ดวงโคม  ขันตะปูเกลียวหรือสกรูให้แน่น  ถอนตะปูเกลียวออกจากที่ยึด  ไขควงมีหลาย
     ชนิดตามลักษณะที่ใช้งาน คือ  ไขควงปากแบน  ไขควงปากสี่แฉก  ไขควงบล็อก
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    1)  ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน
    2)  ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน  เพราะอาจเกิดพลาดพลั้งกระแทก         มือได้
    3)  ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับชนิดของหัวสกรู
    4)  การใช้ไขควง  ควรจับที่ด้ามของไขควง  ไม่ควรใช้คีมจับด้าม         ไขควงขันสกรู
    5)  ใช้ไขควงที่มีด้านเป็นฉนวนในงานช่างไฟฟ้า
    6)  ถ้าไขควงชำรุดต้องซ่อมทันที
    7)  หลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด
    8)  เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
4.  สว่านเจาะไม้  สว่านเจาะไม้ใช้ในการเดินสายไฟมาก เพราะบางครั้งต้องเจาะรู  เพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น  พุกประกับลูกถ้วย กล่องไม้  ร้อยสาย  เป็นต้น  สว่านเจาะไม้มีหลายแบบหลายขนาด  เช่น  สว่านข้อเสื่อ  สว่านเฟือง  สว่านมือชนิดกระแทก  สว่านมือด้ามเหล็กและสว่านไฟฟ้าซึ่งใช้เจาะได้ทั้งไม้และผนังตึก  ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    1)  เลือกสว่านให้เหมาะสมกับงาน
    2)  ใส่ดอกสว่านให้ตรงแน่นก่อนใช้งาน
    3)  ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน  จับชิ้นงานไว้ให้แน่น
    4)  ถ้าต้องการเจาะรูโต  ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน
    5)  ขณะเจาะควรคลายให้เศษวัสดุออกบ้าง เพื่อลดแรงกด  ทั้งป้องกันมิให้         ดอกสว่านร้อนหรือหัก
    6)  หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้  ก่อนทะลุควรกลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อ         ป้องกันไม่ให้แตก
    7)  การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล็อกปุ่มกดสวิตซ์  และต้องระมัดระวัง         เป็นพิเศษ
    8)  เมื่อเลิกใช้งานให้ถอดคอกสว่านออกจากตัวสว่าน  ทำความสะอาด           เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
5.  มีด  มีดใช้สำหรับตัด  ปอก  ขูดหรือทำความสะอาดสายไฟ  ใช้มากในการเดินสายไฟฟ้า
  วิธีใช้และการบำรุงรักษา
การปอกสายไฟควรตะแคงมีดทำมุม  45  องศา  กับสายไฟลักษณะเดียวกับการเหลาดินสอ  อย่ากดใบมีดลึกจนเกินไป  เพราะใบมีอาจตัดถูกลวดทองแดงภายในขาด  หรือ ชำรุดเสียหายได้
 
6.  เลื่อย  เลื่อยมีหลายชนิดหลายแบบทั้งขนาดและรูปร่าง  เลื่อยที่ใช้สำหรับงานช่างไฟฟ้า  คือเลื่อยปากไม้หรือเลื่อยรอปากไม้  เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  สันด้านบนเป็นเหล็กหนา มีฟันเลื่อยละเอียด  ใช้สำหรับตัดปากไม้ในการเข้าไม้ต่างๆ  ให้ประณีตเรียบร้อย


   วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    1)  อย่าปล่อยให้ใบเลื่อยเปียกน้ำ  ควรเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่ชื้น
    2)  เมื่อแต่งฟันเลื่อย  พยายามให้ฟันเลื่อยอยู่ในรูปเดิม
    3)  อย่าวางเลื่อยให้ถูกแดดร้อนจัด
    4)  เมื่อเลิกใช้แล้วต้องทำความสะอาดชโลมด้วยน้ำมัน  เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย



7.  หัวแร้งบัดกรี  หัวแร้งที่ใช้ในการบัดกรี  เพื่อเชื่อมหรือประสาน  มีอยู่  2  ชนิดคือ     หัวแร้งชนิดเผาด้วยถ่าน  และหัวแร้งไฟฟ้า  หัวแร้งไฟฟ้าเหมาะที่จะใช้กับงานเดินสายไฟ     และงานซ่อม  งานประสานเล็กๆ  น้อยๆ  ที่ใช้ความร้อนไม่มากนัก
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
    1)  ต้องรักษาปลายหัวแร้งให้สะอาดอยู่เสมอ
    2)  อย่าให้หัวแล้งบัดกรีร้อนจัดเกินไป
    3)  หัวแร้งเมื่อใช้แล้วต้องจุ่มน้ำกรดอย่างเจือจาง แล้วจึงเก็บเข้าที่ให้         เรียบร้อย
8.  เครื่องมือวัดไฟฟ้า เครื่องมือวัดไฟฟ้า  เช่น  มัลติมิเตอร์  ใช้วัดได้หลายอย่าง       คือ โวลต์  แอมแปร์และโอห์ม
วิธีใช้และการบำรุงรักษา
1)  ศึกษาวิธีใช้เครื่องมือวัดให้เข้าใจก่อนใช้ เพราะหากใช้ผิดจะเกิดความเสียหายได้
2)  เลือกใช้เครื่องวัดให้ถูกกับชนิดของกระแสไฟฟ้า
3)  ใช้แล้วต้องเก็บรักษาให้ดี อย่าให้ตกหรือกระทบกระเทือนมากๆ อาจชำรุดหรือเกิดความเสียหาย                                        

วัสดุอุปกรณ์1.  สายไฟฟ้า  เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจนครบวงจร  สายไฟแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดสายเปลือย และชนิดสายหุ้มฉนวน
สายเปลือย เป็นสายที่ไม้มีฉนวนหุ้ม มักจะเป็นสายขนาดใหญ่ ใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง  มีทั้งสายที่ทำด้วยทองแดง และสายชนิดผสมอะลูมิเนียม สายไฟฟ้าตามถนนที่เป็นสายเปลือย ถ้าสัมผัสแม้โดยทางอ้อมก็อาจเกิดอันตรายได้
สายหุ้มฉนวน  มักจะมีฉนวนหุ้มในลักษณะต่างๆ ฉนวนที่หุ้มสายอาจเป็นยาง ด้าย ไหม พีวีซี สายหุ้มฉนวนเป็นสายที่นิยมใช้กันตามอาคารบ้านเรือน  เพราะราคาถูกและใช้งานได้ดี
สายไฟฟ้ามีหลายขนาด  การเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับการใช้สอยจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าในบ้าน (สายไฟฟ้าที่ใช้กับอุณหภูมิไม่เกิน  40  องศาเซลเซียส)
ขนาดพื้นที่หน้าตัดของสาย (ตร.มม.) ทนกระแสไฟฟ้า (แอมแปร์) การนำไปใช้งาน
0.5 4 สายต่อชั่วคราว (ปัจจุบันไม่นิยมใช้)
1.0 6 ดวงโคม
1.5 8 สายปลั๊ก
2.5 14 สายเมนวงจรแสงสว่าง
4.0 19 สายเมนย่อยภายใน
6.0 27 สายเมนภายในบ้าน
10 35 สายเมนภายนอกบ้าน

2.  เข็มขัดรัดสาย  เข็มขัดรัดสายทำด้วยอลูมิเนียม มีรูตรงกลาง 1 - 2 รู       แล้วแต่ขนาดของเข็มขัดรัดสาย
ซึ่งมีขนาดเบอร์ต่างๆ กันตั้งแต่เบอร์ 0 - 6 รูตรงกลางนี้ใช้สำหรับตอกตะปูยึดกับผนังให้แน่น เข็มขัดรัดสายเบอร์ 0
สำหรับสายที่มีขนาดเล็กเส้นเดียว เข็มขัดรัดสายขนาดใหญ่ใช้กับสายไฟขนาดใหญ่ หรือสายไฟขนาดเล็กหลายๆ เส้นรวมกัน
 
3.  ตุ้ม  ตุ้มหรือลูกถ้วยใช้สำหรับเดินสายนอกอาคาร  หรือในโรงฝึกงาน  เพื่อยึดสายให้แน่น เช่น ยึดสายไฟจากบ้านไปยัง
เสาไฟฟ้า ตุ้มมีหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ตามขนาดของสายไฟ
 
4.  ตลับและกล่องแยกสาย  ตลับและกล่องแยกสายมีลักษณะกลมๆ  มีฝาเกลียวปิด ทำด้วยพลาสติก มีรูเจาะออกโดยรอบ 4 รู
เพื่อสายไฟฟ้า  สำหรับกล่องแยกสายมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า  มีทั้งชนิดที่ทำด้วยไม้  เหล็ก และ พลาสติก
เจาะสายได้ตามความต้องการ  ตลับและกล่องแยกสายใช้สำหรับต่อแยกสายไฟ เพื่อนำไฟไปใช้ในจุดต่างๆ และเพื่อความเรียบร้อยปลอดภัย

5.  ผ้าพันสายไฟ ผ้าพันสายไฟเป็นฉนวนใช้สำหรับพันสายไฟ  เมื่อต่อสายไฟเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไฟฟ้าไม่ให้รั่ว
อาจทำให้เกิดอันตรายได้  ผ้าพันสายไฟฟ้ามีลักษณะเป็นม้วน  ทำด้วยวัสดุหลายอย่าง  เช่น  ยาง  ผ้า
6.  ฟิวส์  ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง  ซึ่งต่อไว้ในวงจรไฟฟ้าเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาเกินพิกัดของขนาดสายไฟ เพราะฟิวส์จะหลอมละลายตัดทางเดินของกระแสไฟ  ก่อนที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟฟ้าขึ้น  ฟิวส์มีหลายชนิดและหลายขนาด  ได้แก่  ฟิวส์เส้นลวด  ฟิวส์ก้ามปู  และปลั๊กฟิวส์  ฟิวส์ก้ามปูและปลั๊กฟิวส์  สามารถเปลี่ยนได้ง่ายใช้สะดวก
 
7.  สะพานไฟหรือคัทเอาท์  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ตัดต่อกระแสไฟฟ้าในวงจร  การใช้สะพานไฟ ต้องใช้ควบคู่กับ
อุปกรณ์อื่นๆ ด้วย เช่น ฟิวส์เส้นลวด
8.  ปลั๊ก  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อกระแสไฟฟ้าชั่วคราว  ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า
มีลักษณะต่าง ๆ กัน แบ่งได้ 2 ชนิด  คือ      ชนิดปลั๊กเสียบหรือปลั๊กตัวผู้  และชนิดเต้ารับหรือปลั๊กตัวเมีย

9.  สวิตซ์  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเมื่อเราต้องการ  ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างภายในบ้านเรือน
 
สวิตซ์ 2 ทาง (สวิตช์บันได) สามารถปิดเปิดไฟฟ้าได้ 2 จุด มักนิยมใช้กันตามบ้านเรือน
ทั่ว ๆ ไป






การดูแลรักษาเครื่องมืองานช่างไฟฟ้า


ไฟฟ้าแสงสว่าง
ควรปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง
เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้งาน
สำหรับบริเวณที่ต้องการความสว่างมาก ภายในอาคารควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนภายนอกอาคารควรเลือกใช้หลอดไอโซเดียม และหลอดไอปรอท
ควรใช้ฝาครอบดวงโคมแบบใสหากไม่มีปัญหาเรื่องแสงจ้า และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
พิจารณาใช้โคมไฟตั้งโต๊ะสำหรับงานที่ต้องการแสงสว่างจุดเดียว ทีวี วิทยุ ปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ได้ดู
ควรถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน
ควรเลือกใช้โคมไฟแบบสะท้อนแสงแทนแบบเดิมที่ใช้พลาสติกปิด
ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แทนหลอดไส้ ซึ่งมีคำแนะนำในการใช้ดังนี้
หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบผอม ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ มีความสว่างเท่ากับ หลอด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์แต่ประหยัดไฟกว่า และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีบัลลาสต์ภายในสามารภใช้แทนหลอดกลมแบบเกลียวได้ ส่วนหลอดที่มีบัลลาสต์ภายนอก จะมีขาเสียบเพื่อต่อกับตัวบัลลาสต์ที่อยู่ภายนอก
เตารีด
เตารีดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งในการรีดแต่ละครั้งจะกินไฟมากดังนั้นจึงควรรู้จัดวิธีใช้อย่างประหยัดและปลอดภัย
ก่อนอื่นควรตรวจสอบดูว่าเตารีดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สาย ตัวเครื่อง เป็นต้น
ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า
อย่าพรมน้ำจนเปียกแฉะ
ดึงเต้าเสียบออกก่อนจะรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาที แล้วรีดต่อไปจนเสร็จ
ควรพรมน้ำพอสมควร
ถอดปลั๊กออกเมื่อไม่ได้ใช้
ควรรีดผ้าคราวละมากๆ ติดต่อกันจนเสร็จ
ควรเริ่มรีดผ้าบาง ๆ ก่อน ขณะเตารีดยังไม่ร้อน
ควรดึงปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จเพราะยังร้อนอีกนาน
ควรซักและตากผ้าโดยไม่ต้องบิด จะทำให้รีดง่ายขึ้น
พัดลม
เปิดความเร็วลมพอควร
เปิดเฉพาะเวลาใช้งาน
ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้
เครื่องเป่าผม
เช็ดผมก่อนใช้เครื่อง
ควรขยี้และสางผมไปด้วยขณะเป่า
เครื่องดูดฝุ่น
ควรเอาฝุ่นในถุงทิ้งทุกครั้งที่ใช้แล้วจะได้มีแรงดูดดี ไม่เปลืองไฟ
ตู้เย็น ตู้แช่
ตั้งอุณหภูมิพอสมควร
นำของที่ไม่ร้อนใส่ตู้เย็น
ปิดประตูตู้เย็นทันทีเมื่อนำของใส่หรือออก
ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท
หากยางขอบประตูรั่วให้รีบแก้ไข
เลือกตู้เย็นหรือตู้แช่ชนิดมีประสิทธิภาพสูง
ควรใช้ตู้เย็นขนาดเหมาะกับครอบครัว
ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแหล่งความร้อน ให้หลังตู้ห่างจากฝาเกิน 15 ซ.ม. เพื่อระบายความร้อนได้สะดวก ไม่เปลื่องไฟฟ้า
ควรหมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน
ควรเก็บเฉพาะอาหารเท่าที่จำเป็น
การเลือกซื้อตู้เย็น, ตู้แช่ มีคำแนะนำให้ท่านพิจารณาก่อนซื้อ ดังนี้
เลือกขนาดให้พอเหมาะกับความต้องการของครอบครัว
ตู้เย็นแบบประตูเดียวกินไฟน้อยกว่าแบบ 2 ประตู
ควรวางตู้เย็นให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะกับจำนวนของที่ใส่
อย่าเปิดตู้เย็นทิ้งไว้นาน ๆ และอย่านำของร้อนมาแช่
หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาะหนามาก
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
หากใช้อย่างถูกต้องสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มาก ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนผู้รับประทาน
ควรถอดเต้าเสียบออกเมื่อข้าวสุกแล้ว
อย่าทำให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า
หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ
ใช้ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
ควรดึงปลั๊กออกเมื่อข้าวสุกพอแล้ว ปัจจุบันหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีใช้กันมาก หม้อต้มน้ำ หม้อต้มกาแฟ
ใส่น้ำให้มีปริมาณพอควร
ควรปิดฝาให้สนิทขณะต้ม
ควรปิดสวิตช์ทันทีเมื่อน้ำเดือด
เครื่องสูบน้ำ
ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังและหมั่นปรับตั้งให้ถูกต้องเสมอ
ติดตั้งท่อน้ำให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดปั้ม
ควรตรวจแก้ไขจุดรั่วในระบบน้ำ
ควรใช้น้ำอย่างประหยัด
ควรติดตั้งถังเก็บน้ำในตำแหน่งที่ไม่สูงเกินไป
เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอย่างยิ่งซึ่งใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการสูบน้ำไปยังถังเก็บหรือ
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีวิธีการใช้อย่างประหยัดดังนี้
ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังเก็บ และดูแลรักษาให้ทำงานได้อยู่เสมอ
ตรวจสอบรอยรั่วตามข้อต่อต่าง ๆ หากพบควรรับซ่อมแซมแก้ไขโดยเร็ว
หากตัวถังเก็บน้ำไม่มีอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำ ควรดูแลอย่าให้น้ำล้นถัง
เครื่องสูบน้ำแบบใช้สายพานต้องตรวจสอบไม่ให้หย่อนหรือตึงเกินไป
เครื่องซักผ้า
ควรใส่ผ้าแต่พอเหมาะ ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินกำลังเครื่อง
ควรใช้น้ำเย็นซักผ้า ส่วนน้ำร้อนให้ใช้เฉพาะกรณีรอยเปื้อนไขมันมาก

วิธีใช้เครื่องซักผ้าให้ประหยัดไฟฟ้าควรปฏิบัติดังนี้
ควรใส่ผ้าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง
หากมีผ้าต้องซัก 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ
หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด
มอเตอร์ไฟฟ้า
ควรตรวจสอบแก้ไข และอัดจารบีตามวาระ
ปรับปรุงสายพานมอเตอร์ เช่น ปรับความตึงสายพาน เปลี่ยนสายพานใหม่
พิจารณาเปลี่ยนระบบควบคุมความเร็วของมอเตอร์เป็นระบบอีเล็กทรอนิกส์
เตาอบ เตาไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ใช้ความร้อนมาทำให้อาหารสุก หากให้ความร้อนสูญเสียไปโดยการใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้อาหารสุกช้าลง กินกระแสไฟเพิ่มขึ้นจึงมีข้อแนะนำการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อย่างประหยัดคือ
ควรเตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหารให้พร้อมก่อนใช้เตา
ควรใช้ภาชนะก้นแบนและเป็นโลหะจะทำให้รับความร้อน จากเตาได้ดี
ในการหุ่งต้มอาหารควรใส่น้ำให้พอดีกับจำนวนอาหาร
ในระหว่างอบอาหารอย่าเปิดตู้อบบ่อย ๆ
ถอดเต้าเสียบทันทีเมื่อปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อย
ควรหรี่ไฟและปิดฝาหม้อในกรณีที่ต้องเคี่ยว
ควรเตรียมเครื่องปรุงให้พร้อมก่อนใช้เตา
ควรใช้เตาชนิดมองไม่เห็นขดลวดซึ่งไม่เสียความร้อน สูญเปล่ามาก และปลอดภัยกว่า
ควรใช้พาหนะก้นแบนขนาดพื้นที่ก้นเหมาะกับพื้นที่หน้าเตาและใช้พาหนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี หากเป็นไปได้ให้ใช้กับเตาไฟฟ้าซึ่งมีขายทั่วไปอยู่แล้ว
ควรปิดฝาภาชนะให้สนิทขณะตั้งเตา
เครื่องทำน้ำอุ่น
วิธีการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นให้ประหยัดและปลอดภัย
ปรับปุ่มความร้อนให้เหมาะสมกับร่างกาย
ปิดวาล์วทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
หากมีรอยรั่วควรรีบทำการแก้ไขทันที
ต่อสายลงดินในจุดที่จัดไว้ให้ของเครื่องทำน้ำอุ่น
ปิดสวิชต์ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่นเมื่อไม่ใช้
ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง
ใช้เครื่องขนาดพอสมควร
ปรับปรุงความร้อนไม่ให้ร้อนเกินความจำเป็น
ปิดก๊อกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
ในฤดูร้อนไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น
ควรใช้น้ำอุ่นที่ได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์
เครื่องปรับอากาศ
ปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่อยู่
ปิดประตูหน้าต่างและผ้าม่านกันความร้อนจากภายนอก
ตั้งอุณหภูมิไม่ควรต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส
ควรใช้เครื่องขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง
ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง
ควรติดตั้งเครื่องระดับสูงพอเหมาะ และให้อากาศร้อนระบายออกด้านหลังเครื่องได้สะดวก
ควรบุผนังห้อง และหลังคาด้วยฉนวนกันความร้อน
ควรบำรุงรักษาเครื่องให้มีสภาพดีตลอดเวลา
ควรหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และแผงระบายความร้อน
ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดไม่ให้ความเย็นรั่วไหล
พิจารณาติดตั้งบังแสงหรือกันแดด เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่อง
การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นที่สบายต่อร่างกาย จะประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
ควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง
ควรใช้ผ้าม่านกั้นประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก
ตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อร่างกาย(ประมาณ 26 องศาเซลเซียส)
หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ
ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่องปรับอากาศ


ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมืองานช่างไฟฟ้า



กระแสไฟฟ้าที่ใช้ทั้งในโรงงานอุตสากรรม สำนักงานหรือตามบ้านเรือนมีอันตรายสูงมาก และรวดเร็วที่สุดเมื่อเข้าไปสัมผัส ผู้ที่ใช้งานหรือมีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ทั้งชนิดกระแสไฟฟ้าที่ใช้แรงเคลื่อน 220 โวลท์ และ 380 โวลท์

โดยทั่วไป เรานำไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

        1. เป็นต้นกำลังพลังงานกล เช่น การเดินเครื่องจักร

        2. เป็นแหล่งให้แสงสว่าง เช่น หลอดไฟ โคมไฟ

        3. เป็นแหล่งให้ความร้อน โดยต่อเข้ากับขดลวดชุดความร้อน เช่น กระติกต้มน้ำร้อน

        4. เป็นแหล่งหรือสื่อกลางของการสื่อสาร เช่น แบตเตอรี่โทรศัพท์

        5. เป็นแหล่งให้พลังงานกับอุปกรณ์

        6. เป็นแหล่งให้อำนาจแม่เหล็กกับอุปกรณ์

        7. เป็นแหล่งให้เกิดปฏิกิริยาเคมี

อันตรายจากไฟฟ้า

การแบ่งลักษณะของอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น มี 2 ลักษณะ
        1. ไฟฟ้าดูด เนื่องจากร่างกายไปแตะต้อง หรือต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า ทำให้มีกระแสไฟไหลผ่านเข้าในร่างกาย และถ้าไฟฟ้าไหลผ่านอวัยวะที่สำคัญก็อาจทำให้เสียชีวิตได้หากกระแสไฟมีปริมาณมากพอ ความสัมพันธ์ของกระแสไฟฟ้าและปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกายต่อกระแสไฟฟ้ามีดังนี้

        2. เพลิงไหม้ อัคคีภัยที่เกิดจากไฟฟ้ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ ประกายไฟและความร้อนที่สูงผิดปกติ ซึ่งตามทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบครบ 3 อย่าง คือ เชื้อเพลิง แหล่งความร้อน และออกซิเจน ดังนั้น การป้องกันไฟไหม้ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า จึงต้องขจัดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่างดังกล่าวออก โดยเฉพาะการขจัดแหล่งความร้อน เช่น

        ก. ประกายไฟที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร
        ข. หัวต่อหรือหัวขั้วสายไฟหลวมจึงเกิดการเดินของกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ
        ค. การเกิดประกายไฟ (spark) จากการเดินไม่เรียบของกระแสไฟ
        ง. การใช้ฟิวส์ไม่ถูกต้อง ขนาดไม่เหมาะสม หรือใช้สวิทซ์ตัดไฟอัตโนมัติไม่เหมาะสม
        จ. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินไป
        ฉ. มอเตอร์ทำงานเกินกำลัง
        ช. ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้ามากเกินไปในเต้าเสียบเดียวกัน
        ซ. แรงดันไฟฟ้าที่ขั้วมอเตอร์ไฟฟ้าต่ำเกินไป ซึ่งโดยสรุปสาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักของการเกิดเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าทั้งสิ้น


ซึ่งอันตรายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้านั้น มีสาเหตุหลักๆ มาจาก :-

1) ระบบการบริหาร

        ก. ขาดระบบการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายผลิตกับซ่อมบำรุง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ไม่มีระบบการล็อคกุญแจและแขวนป้าย (Lock-out and Tag-out)
        ข. ไม่มีแบบแปลนไฟฟ้า ข้อมูลและตัวเลขทางเทคนิคต่างๆ ของระบบ ไฟฟ้าที่ถูกต้องประจำหน่วยงาน เช่น เมื่อมีการต่อเติมระบบไฟฟ้าแล้วไม่ได้นำข้อมูลไปเพิ่มเติมใน
             แบบแปลน
        ค. ขาดช่างเทคนิคที่มีความรู้ความสามารถ เป็นต้น

2) การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ระบบไฟฟ้าในโรงงานไม่มีมาตรฐานเพียงพอ
3) การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานมีความเปียกชื้น ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้ดี
4) ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ขาดความรู้เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับการติดตั้ง และ/หรือการใช้งานอย่างถูกวิธี เช่น

ก. ช่างไฟฟ้า
        - ขาดความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับหลักการและกฎทางไฟฟ้า
        - ต่อสายไฟไม่ดี หรือวิธีการต่อไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
        - ไม่ตัดวงจรไฟฟ้าก่อนปฏิบัติงาน
        - ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าผิดลักษณะ
        - ปฏิบัติงานโดยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ เป็นต้น

ข. ผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
        - ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด มีกระแสไฟฟ้ารั่ว
        - ใช้อุปกรณ์ผิดประเภท (เช่น การใช้เต้าเสียบผิดประเภท)
        - ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ร่างกายมีความเปียกชื้น
        - รีบเร่งปฏิบัติงาน เป็นต้น

การป้องกันและควบคุม

        1. ออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และผู้ปฏิบัติงาน เช่น ติดตั้งเครื่องตัดวงจรอัตโนมัติ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำด้วยวัสดุไม่นำไฟฟ้า
        2. กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้การจัดซื้ออุปกรณ์ทางด้านไฟฟ้าของหน่วยงานได้มาตรฐาน
        3. อบรมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับไฟฟ้าในเรื่องวิธีการทำงานให้ปลอดภัยจากไฟฟ้า การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้า ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดจากการทำงาน หรือสัมผัสกระแสไฟฟ้าที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการช็อคเนื่องจากกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

        นอกจากนี้ ทางผู้เขียนขอฝากเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยไว้ เพื่อจะได้เป็นข้อพึงระวังสำหรับการใช้งานด้วยครับ
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า

        1. ตรวจสอบสายไฟฟ้า และตรวจจุดต่อสายก่อนใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้ควรตรวจสอบบริเวณจุดข้อต่อ ขั้วที่ติดอุปกรณ์ ถ้าชำรุดควรเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ
        2. ดวงโคมไฟฟ้าต้องมีที่ครอบป้องกันหลอดไฟ
        3. การเปลี่ยนหรือซ่อมแซมอุปกรณ์ ควรให้ช่างทางเครื่องมือหรือไฟฟ้าเป็นผู้ดำเนินการ ไม่ควรดำเนินการเองโดยเด็ดขาดหากไม่มีความรู้
        4. ห้ามจับสายไฟขณะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
        5. ห้ามใช้อุปกรณ์ขณะมือเปียก
        6. ไม่ควรเดินเหยียบสายไฟ
        7. อย่าแขวนสายไฟบนของมีคม เพราะของมีคมอาจบาดสายไฟชำรุดและก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้
        8. การใช้เครื่องมือทางไฟฟ้า ควรต่อเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะลงสู่ดิน
        9. การใช้มอเตอร์ หม้อแปลง ควรมีผู้รับผิดชอบควบคุมในการเปิดปิดใช้งาน
        10. ในส่วนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายควรมีป้ายติดแสดงอย่างชัดเจน
        11. ถ้าเกิดเหตุการณ์ผิดปกติกับอุปกรณ์ควรแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบทันที และห้ามใช้งานต่อ
        12. ห้ามปลดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายทางไฟฟ้าออก ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้เชี่ยวชาญ
        13. เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรปิดสวิทช์ และต้องแน่ใจว่าสวิทช์ได้ปิดลงแล้ว
        14. อุปกรณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ควรหมั่นทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่นละออง
        15. ห้ามห่อหุ้มโคมไฟด้วยกระดาษ ผ้าหรือวัสดุที่ติดไฟได้
        16. ห้ามนำสารไวไฟ หรือสารลุกติดไฟง่ายเข้าใกล้สวิทช์ไฟฟ้า
        17. หมั่นตรวจสอบฉนวนหุ้มอุปกรณ์อยู่เสมอ ในบริเวณที่อาจสัมผัส หรือทำงาน
        18. เมื่อมีผู้ได้รับอันตราย ควรสับสวิทช์ให้วงจรเปิด (ตัดกระแสไฟฟ้า)
        19. เมื่อไฟฟ้าดับ หรือเกิดไฟฟ้าช๊อต ควรสับสวิทช์วงจรไฟฟ้าให้เปิด


การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า

        1. การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย และมาตรฐานทางไฟฟ้า
        2. การติดตั้งต้องดูแลโดยผู้ชำนาญ โดยเฉพาะการสื่อสารเมื่อมีการทำงานในขณะกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
        3. การติดตั้งอุปกรณ์ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันโดยเฉพาะ
        4. ไม่ควรทำงาน หรือเปิดชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะกระแสไฟฟ้าไหล
        5. อุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในที่สูง ต้องมีฉนวนหุ้มอย่างดี และตรวจสอบความเรียบร้อยอยู่เสมอ
        6. เมื่อมีอุปกรณ์ไฟฟ้าบนพื้นถนน ควรมีระบบป้องกันอันตรายเฉพาะทาง เช่น รั้วป้องกันรถชน ป้ายเตือนสะท้อนแสง เป็นต้น
        7. เครื่องจักรทุกชนิดควรมีสายดินที่ดี
        8. ควรสับสวิทช์เครื่องจักรและล๊อคกุญแจ (Lock-out) เพื่อไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องที่อาจเข้าใจผิดสามารถเปิดสวิทช์ได้ และควรมีป้ายบอกให้ชัดเจน (Tag-out)
        9. ต้องมีการเทประจุไฟฟ้าเมื่อเครื่องมือนั้นมีประจุค้างอยู่


การทำงานขณะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ไฟฟ้าแรงสูง

        1. ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับงาน
        2. ถ้าต้องทำงานใกล้ไฟฟ้าแรงสูงเกิน 60 เซนติเมตร ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เป็นฉนวนอย่างดีและ ในกรณีที่อยู่ห่างมากกว่า 60 เซนติเมตรให้ใช้อุปกรณ์รองลงมา
        3. ในการทำงานต้องปรึกษาผู้ชำนาญการทางไฟฟ้าก่อน และต้องมีผู้ชำนาญการควบคุมดูแลตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
        4. พนักงานงานไม่ควรพักใกล้สายไฟแรงสูง
        5. การใช้อุปกรณ์เครื่องมือ ต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน
        6. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทุกครั้ง


...................................................................................................................................................................
ข้อมูลจาก http://www.krusam.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น